ถัง

วิธีปลูกยางพารา
เลือกไซต์
การเก็บนำ้ยง การขายน้ำยางสด การปลูกสร้างสวนยางในอดีต เมื่อกรีดได้น้ำยางแล้ว ชาวสวนยางต้องนำมาทำแผ่นจึงจะขายได้ แต่ในปัจจุบันชาวสวนยางมีทางเลือกมากขึ้นเพราะไม่ต้องทำเป็นยางแผ่นก็สามารถขายน้ำยางสดได้โดยตรง การขายน้ำยางสดช่วยให้ชาวสวนยางสามารถลดต้นทุนและเวลาได้มาก จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ตลาดน้ำยางสดขยายตัวมากขึ้น ชาวสวนยางมีความคุ้นเคยกับการขายน้ำยางสดดี แต่ยังไม่มั่นใจในการคิดราคาของผู้ซื้อ กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อ-ขาย จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการขายน้ำยางสด การเก็บรักษา และการหาเนื้อยางแห้งเพื่อใช้คิดราคาในการขาย น้ำยางสด น้ำยางสด คือ น้ำยางธรรมชาติที่กรีดได้จากต้นยางพารามีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. เนื้อยางประมาณ 35% 2. ส่วนที่เป็นน้ำและสารอื่น ๆ ประมาณ 65% การเก็บรักษาน้ำยางสดก่อนขาย น้ำยางสดที่ได้จากสวนยางจะยังคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจาก นั้นจะเริ่มจับตัวเป็นเม็ดพริก (ยางบูด) อันเนื่องจากสาเหตุหลายประการจำเป็นต้องเติมสารเคมีรักษาน้ำยางไว้ เพื่อป้องกันน้ำยางจับตัวก่อนกำหนด ชนิดของสารเคมีเก็บรักษาน้ำยางไม่ให้จับตัว แอมโมเนีย เป็นของเหลวและก๊าซ ไม่มีสี กลิ่นฉุนจัด เป็นอันตรายต่อผิวหนังและประสาทตา ละลายได้ทั้งในน้ำ แอลกอฮอล์ และอีเธอร์ ในท้องตลาดมีจำหน่าย 2 แบบ เป็นก๊าซและสารละลายมีความเข้มข้นของแอมโมเนียประมาณ 30% วิธีเตรียมและใช้แอมโมเนีย ใช้แอมโมเนียชนิดสารละลาย 30% จำนวน 3 กิโลกรัม ผสมน้ำ 50 ลิตร (ลดลงตามส่วนที่จำเป็นต้องใช้) จะได้แอมโมเนียเข้มข้นประมาณ 2% ใช้แอมโมเนียเข้มข้น 2% จำนวน 10 ซี.ซี. ต่อน้ำยางสด 1 ลิตร หรือหยดในถ้วยรองรับน้ำยาง ถ้วนละ 2-3 หยด โซเดียมซัลไฟท์ เป็นผงหรือผนึกสีขาว รสเค็มเหมือนเกลือ มีกลิ่นกำมะถัน ละลายในน้ำ และละลายในแอลกอฮอล์ได้เล็กน้อย ในท้องตลาดมีจำหน่ายเป็นผงสีขาวบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด วิธีเตรียมและใช้โซเดียมซัลไฟท์ เตรียมโซเดียมซัลไฟท์ 2 ช้อนแกง ผสมน้ำครึ่งลิตร แล้วน้ำโซเดียมซัลไฟท์ที่ผสมน้ำแล้วหยดลงในถ้วยรองรับน้ำยางถ้วยละ 2-3 หยด หรือใส่ในถังรวมน้ำยางโดยใช้โซเดียมซัลไฟท์ผสมน้ำแล้ว 1 ส่วน ต่อน้ำยาง 64 ส่วน โดยน้ำหนัก อย่าใส่โซเดียมซัลไฟท์ในถังที่ทำด้วยโลหะ และอย่าใส่ปริมาณมากเกินไปจะทำให้ยางเหนียวเหนอะหนะ นอกจากใช้สารเคมีเพื่อรักษาสภาพน้ำยางสดให้อยู่นานแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพน้ำยาง เช่น 1. รักษาความสะอาดในแปลงยาง 2. ภาชนะต่าง ๆ เช่น ถ้วยรองรับน้ำยาง ถังเก็บน้ำยาง มีดกรีดยางจะต้องสะอาด 3. พยายามอย่าให้สิ่งแปลกปลอม เช่น เปลือกยาง ใบไม้ หรือดิน ทรายปะปนลงในน้ำยางที่จับตัวแล้ว บางส่วนไม่ควรผสมลงในน้ำยางที่อยู่ในสภาพดี 4. รวบรวมน้ำยางและเติมสารเคมีถนอมน้ำยางให้เร็วที่สุด การหาปริมาณเนื้อยางแห้ง ปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางสดผันแปรไปตามฤดูกาลอากาศ สภาพดิน ลักษณะพันธุ์ ตัวกระตุ้น และระบบกรีด ตามปกติน้ำยางจะมีปริมาณเนื้อยางแห้ง ระหว่าง 20-40% โดยเฉลี่ยประมาณ 35% การหาปริมาณเนื้อยางแห้งมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อ ความเหมาะสมกับสภาพของงานแต่ละงาน ใช้รวดเร็ว ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายบางวิธีอาจนำมาใช้กับจุดรวมน้ำยาง เพื่อที่จะจ่ายเงินให้กับผู้กรีดหรือผู้ขายในทันที ส่วนความแม่นยำและถูกต้องนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการวัดของแต่ละแบบที่ประยุกต์ใช้ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวิธีที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ 1. การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการวัดจากเมโทรแลค (ไม่แนะนำให้ใช้ในการซื้อขายเนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนสูง) 2. การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการชั่ง การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการวัดจากเมโทรแลค ใช้น้ำยาง 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน เทน้ำยางที่ผสมน้ำแล้วลงในกระบอกตวงจนน้ำยางล้นกระบอกตวงแล้วเป่าฟองบนผิวเหนือกระบอกตวงออก ค่อย ๆ จุ่มเมโทรแลคลงไปจนหยุดนิ่งแล้วอ่านค่าบนก้านเมโทรแลค กดเมโทรแลคลงไปอีกครั้งหนึ่ง จนลอยตัวขึ้นมาและหยุดนิ่งแล้วอ่านค่าซ้ำอีกครั้ง จึงใช้ค่าที่อ่านได้ครั้งสุดท้ายคูณด้วย 3 ผลคุณที่อ่านได้เป็นปริมาณเนื่อยางแห้งกรัมต่อลิตร แสดงว่าในน้ำยาง 1 ลิตร จะมีปริมาณเนื้อยางแห้งเป็นกรัมต่อลิตร ถ้าน้ำยางสดมาขายกี่ลิตร เอาจำนวนน้ำยางคูณปริมาณเนื้อยางแห้ง ก็สามารถรู้ปริมาณเนื้อยางแห้งในการขายน้ำยางสดครั้งนั้นได้ ตัวอย่าง นำน้ำยางสดมาขาย 50 ลิตร เก็บตัวอย่างไปทดสอบหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยใช้น้ำยาง 1 ส่วนผสมน้ำ 2 ส่วน สมมุติอ่านค่าตัวเลขบนก้านเมโทรแลคเฉลี่ยได้ 100 ค่าตัวเลขที่อ่านได้ มาคูณ 3 100×3 = 300 แสดงว่าน้ำยาง 1 ลิตร มีเนื้อยางแห้ง 300 กรัม นำน้ำยางสดมาขาย 50 ลิตร = 50×300 = 15,000 กรัม หรือ = 15 กิโลกรัม การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการชั่ง ชั่งน้ำหนักยาง 50 กรัม โดยเครื่องชั่งชนิดละเอียด เทน้ำยางที่ชั่งแล้วใส่ถ้วยอะลูมิเนียม และจับตัวด้วยกรดอะซิติค 2 % เมื่อยางจับตัวดีแล้วนำไปรีดให้มีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ 2-3 ครั้ง นำยางแผ่นตัวอย่างไปอบให้แห้งในตู้อบอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ประมาณ 16 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นในโถแก้วระบบสุญญากาศที่มีการดูดความชื้น ประมาณ 15 นาที นำตัวอย่างยางที่แห้งแล้วไปชั่งด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียด ได้เท่าไหร่คูณด้วย 2 ผลลัพธ์ที่ได้คือ เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง ตัวอย่าง ชั่งยางที่ผ่านการอบแห้งแล้วได้ 15 กรัม นำไปคูณด้วย 2 = 15 × 2 = 30 % ถ้ามีน้ำยางสดมาขาย 60 กิโลกรัม จะมีน้ำยางแห้ง = 60 X 30 100 = 18 กิโลกรัม การเติมสิ่งเจือปน ผลการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของการเติมสิ่งเจือปน และการกระทำบางอย่างกับน้ำยาง เมื่อใช้ เมโทรแลควัดปริมาณเนื้อยางแห้ง ค่าของเนื้อยางแห้งลดค่อนข้างมากลดลงเล็กน้อยไม่มีผลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแป้งสาลี ผงซักฟอก แป้งมัน เกลือแกง โซเดียมซัลไฟท์ ปูนขาว น้ำมันมะพร้าว น้ำมันตันสับปะรด สารส้ม น้ำสับปะรด น้ำกะทิ น้ำจากใบเงาะ แคลเซียมคาร์ไบด์ กรดบอริค น้ำแอมโมเนีย น้ำร้อน ความร้อน ชาวสวนยางที่นำน้ำยางสดไปขายให้กับผู้ซื้อย่อมต้องการความถูกต้องยุติธรรม และความจริงใจ ในการคำนวณหาปริมาณเนื้อยางแห้งขณะเดียวกันผู้ซื้อย่อมต้องการน้ำยางสดที่มีคุณภาพ โดยการไม่นำสารต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการแนะนำของโรงงานปะปนลงไปเพื่อผลประโยชน์อย่างอื่นโดยไม่คำนึงถึงผลเสียซึ่งจะเกิดกับน้ำยางและผลร้ายที่จะตกกับโรงงานผู้ซื้อถ้าทั้งผู้ขายและผู้ซื้อมีความจริงใจต่อกัน การขายน้ำยางสดย่อมสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี และได้ประโยชน์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
Cr.Googleoogle Sites